16.11.2024
ร่วมสร้างฐานข้อมูลของบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองระดับภูมิภาค จากงาน “the Southeast Asian Anti-Corruption Network (SEA-ACN) Online Roundtable on Open Data: Harmonizing PEPs Definitions in ASEAN (Malaysia and Thailand)”
ร่วมสร้างฐานข้อมูลของบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองระดับภูมิภาค จากงาน “the Southeast Asian Anti-Corruption Network (SEA-ACN) Online Roundtable on Open Data: Harmonizing PEPs Definitions in ASEAN (Malaysia and Thailand)” เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างยั่งยืนจากความร่วมมือที่ดีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ !
.
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค หรือ ศูนย์ KRAC ร่วมกับองค์การต่อต้านคอร์รัปชันและส่งเสริมธรรมาภิบาลชั้นนำอย่าง องค์กรต่อต้านการทุจริตแห่งประเทศไทย (ACT) Sinar Project บริษัท วีวิซ เดโม จำกัด (WeVis Demo) และบริษัท แฮนด์ วิสาหกิจ เพื่อสังคม (HAND Social Enterprise; HAND SE) ได้ร่วมกันจัดการประชุมโต๊ะกลมออนไลน์เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน ภายใต้เครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคประชาสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อต่อต้านคอร์รัปชัน (SEA-ACN) ในประเด็น “การประสานมาตรฐานคำนิยามบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEPs) ในอาเซียน (มาเลเซียและไทย)”
.
โดยกิจกรรมในครั้งนี้ได้ แบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 ส่วนได้แก่
(1) การนำเสนอผลการศึกษาเรื่องการประสานคำนิยามบุคคลที่มีสภาพทางการเมืองในไทยและมาเลเซีย
(2) การให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อผลการศึกษาคำนิยามของบุคคลมีสภาพทางการเมืองจากไทยและมาเลเชีย
.
ในช่วงกิจกรรมแรก สมาชิกเครือข่าย SEA-ACN กลุ่ม OPEN DATA ได้นำเสนอผลการศึกษาเรื่อง “การประสานคำนิยามบุคคลที่มีสภาพทางการเมือง (PEPs)” โดยนำเสนอผ่านผู้เชี่ยวชาญจาก 3 องค์กรได้แก่
(1) Khairil Yusof, Coordinator, Co-founder – Sinar Project
(2) วิถี ภูษิตาศัย, Co-founder and Technical Lead, WeVis
(3) คุณณัฐภัทร เนียวกุล หัวหน้าฝ่ายข้อมูลเปิดเพื่อความโปร่งใส HAND SE และผู้เชี่ยวชาญในเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชันของศูนย์ KRAC
.
และในส่วนของกิจกรรมของการให้ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานที่ใช้ข้อมูลของบุคคลที่มีสภาพทางการเมืองในการต่อต้านคอร์รัปชัน ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน ในการแสดงความเห็นและข้อชี้แนะ ได้แก่
(1) Pushpan Murugiah, Chief Executive Officer (CEO), the Centre to Combat Corruption and Cronyism (C4 Centre)
(2) Ato ‘Lekinawa’ Costa, Co-founder of the Association Journalist of Timor-Leste
(3) กิตติเดช ฉันทังกูล ผู้อำนวยการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
อีกทั้ง ภายในการประชุมได้มีการให้ความเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และหน่วยงานจากต่างชาติ ได้แก่ Politics for Tomorrow | Open Gov Network Germany (OGP) ที่ได้ร่วมให้ความเห็นด้วย
.
การประชุมโต๊ะกลมครั้งนี้เป็นพื้นที่สำหรับเครือข่าย SEA-ACN ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ มุมมอง และประสบการณ์ เพื่อนำเสนอผลการศึกษาและแนวทางการประสานคำนิยามเกี่ยวกับบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (Politically Expose Persons: PEPs) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและสนับสนุนธรรมาภิบาลที่เข้มแข็ง และเป็นส่วนหนึ่งของรากฐานที่สำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการต่อต้านการทุจริตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ขับเคลื่อนร่วมกับเครือข่าย
.
ภายในงานมีการกล่าวถึง “ความสำคัญของข้อมูลเปิดในการต่อต้านทุจริต” โดยสมาชิกกลุ่ม OPEN DATA อย่าง HAND SE และ Wevis ซึ่งเป็นผลของการศึกษา ที่เล็งเห็นว่าควรจะมีการพัฒนาและใช้งานข้อมูลเปิดซึ่งจะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการสืบสวน นอกจากนี้ยังสามารถติดตามความเชื่อมโยงระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตได้ง่ายขึ้นจากฐานข้อมูล PEPs ซึ่งอาจขยายขอบเขตการสืบสวนจากข้าราชการไปยังนักธุรกิจและเจ้าหน้าที่รัฐอื่น ๆ เพื่อช่วยระบุความเสี่ยงและผลประโยชน์ทับซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
.
อีกทั้ง สมาชิกจาก Sinar Project อย่าง Khairil ได้แลกเปลี่ยนถึง “แนวทางในมาเลเซีย” ที่ทำงานผ่านการใช้สเปรดชีตร่วมกันในการเก็บข้อมูลการทุจริต เนื่องจากจะช่วยลดความซ้ำซ้อนและทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ซึ่งจะช่วยเหลือในการต่อต้านทุจริต ไปจนถึงการช่วยเหลือในการจัดการกับปัญหาอาชญากรรมอื่น ๆ จากการใช้อำนาจในทางที่ผิดของบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง ผ่านการใช้ข้อมูลเปิดที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายที่ทำให้สามารถระบุบุคคลหรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับโครงการรัฐบาล หรือกิจกรรมสำคัญอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว และทำให้กระบวนการสืบสวนมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
.
นอกจากนี้ สมาชิกกลุ่ม OPEN DATA ได้มีการเน้นย้ำถึงความสำคัญของฐานข้อมูลเสริม เช่น ข้อมูลผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง (Beneficial Ownership) ซึ่งเป็นเครื่องมือเสริมอีกชิ้นที่สามารถใช้ในการป้องกันการทุจริตได้ โดยจะช่วยให้ผู้สืบสวนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและติดตามความเชื่อมโยงข้ามพรมแดนได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งจะไม่เป็นเพียงแค่ประโยชน์ในการต่อต้านการทุจริต แต่ยังสามารถใช้ในคดีทางกฎหมายอื่น ๆ ได้อีกด้วย
.
อย่างไรก็ตาม ตลอดการประชุมโต๊ะกลม ผู้เข้าร่วมได้แสดงถึงความกังวลในประเด็นต่าง ๆ เช่น ปัญหาเรื่องความแตกต่างของภาษา เนื่องจากไม่ใช่ทุกคนจะสามารถพูดหรืออ่านภาษาอังกฤษได้ ตลอดจนการประยุกต์ใช้เกณฑ์ของ PEPs ในแต่ละประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องของกฎหมายทางการเงิน กฎหมายการค้า และการระบุผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง ซึ่งได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับวิธีการจัดการกรณีที่บุคคลไม่มีสถานะ PEPs หลังจากพ้นตำแหน่งไปแล้ว จึงเสนอให้มีการเก็บข้อมูลของบุคคลเหล่านั้นเอาไว้เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงในอนาคต
.
ทั้งนี้ ในช่วงของการแสดงความเห็น ผู้เข้าร่วมได้กล่าวถึงความสำคัญของการนับรวมฐานข้อมูลของรัฐวิสาหกิจ (State-Owned Enterprise :SOEs) ตลอดจนความจำเป็นในการติดตามกิจกรรมต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลังออกจากตำแหน่งที่อาจยังคงมีอิทธิพลในภาคธุรกิจ ซึ่งรวมถึงการกำหนดช่วงเวลาคลายความตึงเครียด (Cooling-Off Period) หรือการมีระยะเวลาให้ไตร่ตรอง เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลเหล่านั้นใช้ตำแหน่งเดิมเพื่อประโยชน์ส่วนตน โดยถึงแม้ว่าบุคคลเหล่านี้จะไม่ได้ดำรงตำแหน่งแล้ว แต่ข้อมูลของพวกเขาก็ควรเข้าถึงได้ เพื่อเป็นการตรวจสอบสาธารณะเกี่ยวกับความขัดแย้งและการทุจริตในอดีตที่อาจส่งผลถึงปัจจุบันหรืออนาคต
.
ในช่วงท้ายของการพูดคุยได้มีการเน้นย้ำถึง “ฐานข้อมูลของบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEPs)” ในฐานะของเครื่องมือที่จะช่วยเสริมสร้างความโปร่งใสในการสืบสวนการทุจริตและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมธรรมาภิบาลในสังคมจากการมีความรับผิดชอบและความโปร่งใสมากขึ้นในประเทศไทยและมาเลเซีย ตลอดจนประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน
.
อย่างก็ตาม ประเด็นเรื่องฐานข้อมูลดังกล่าวยังคงเป็นที่ตั้งคำถามถึงในการจัดเก็บและจัดการฐานข้อมูลของทั้งประเทศไทยและต่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยในระหว่างการสนทนา ผู้เข้าร่วมได้เสนอการสร้างเทมเพลตมาตฐานที่แต่ละประเทศสามารถใช้ร่วมกัน ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วประเด็นดังกล่าว ยังคงเป็นที่ถกเถียงว่าควรที่จะได้ใช้ฐานข้อมูลกลางหรือแยกฐานข้อมูล เพื่อให้การจัดการและรวมข้อมูลมีความเหมาะสมทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก
.
หลังจากที่ได้มีการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้ เครื่องมือ และแนวปฏิบัติด้านการต่อต้านคอร์รัปชันด้วยข้อมูลเปิดเกี่ยวกับบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองจากผู้เข้าร่วม ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และผู้ที่ทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันในภูมิภาคอาเซียน ทำให้เห็นถึงแนวทางและแผนการดำเนินงานในการพัฒนาการต่อต้านคอร์์รัปชันในภูมิภาคที่จะขับเคลื่อนร่วมกันในเครือข่าย SEA-ACN ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความยั่งยืนในการดำเนินงานต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชันระหว่างองค์กรภาคประชาสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไปในอนาคต
.
ทุกท่านสามารถติดตามกิจกรรมและการบรรยายที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันของศูนย์ที่จะจัดต่อไปในอนาคต รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและการต่อต้านคอร์รัปชันทั้งในไทยและต่างประเทศ ได้ที่ Facebook : KRAC Corruption
_________________________________________________________
Building a Regional Politically Exposed Persons (PEPs) Database from “the Southeast Asian Anti-Corruption Network (SEA-ACN) Online Roundtable on Open Data: Harmonizing PEPs Definitions in ASEAN (Malaysia and Thailand)” to Promote Sustainable Anti-Corruption Collaboration in Southeast Asia!
.
On November 8, 2024, the Knowledge Center for Anti-Corruption Collaboration and Good Governance in the Region, or KRAC, in collaboration with prominent anti-corruption organizations including the Anti-Corruption Organization of Thailand (ACT), Sinar Project, WeVis Demo Co., Ltd., and HAND Social Enterprise (HAND SE), organized an online roundtable under the SEA-ACN network to discuss the topic of “Harmonizing PEPs Definitions in ASEAN (Malaysia and Thailand)”.
.
The event was structured into two main sections:
(1) Report Presentation which to present the Outcome of the study on Harmonizing the Definition of PEPs (Malaysia and Thailand)
(2) Panel Discussion which to give feedback on the study on definition of Politically Exposed Persons (PEPs) from Malaysia and Thailand.
.
In the first part, SEA-ACN members from the OPEN DATA group presented their study on "Harmonizing the Definition of Politically Exposed Persons (PEPs)". This session featured reports from:
(1) Khairil Yusof, Coordinator and Co-founder of Sinar Project
(2) Witee Phusitasai, Co-founder and Technical Lead of WeVis
(3) Nattapat Niwakul, Head of Open Data for Transparency at HAND SE and an anti-corruption expert with KRAC
.
In the following panel discussion, experts and agencies utilizing PEPs data for anti-corruption shared their insights and feedback. Speakers included:
(1) Pushpan Murugiah, Chief Executive Officer (CEO) of the Centre to Combat Corruption and Cronyism (C4 Centre), Malaysia
(2) Ato 'Lekinawa' Costa, Co-founder of the Association of Journalists of Timor-Leste
(3) Kittidej Chantangkul, Director of the Anti-Corruption Organization of Thailand
Additionally, Thailand's Anti-Money Laundering Office (AMLO) and international representatives from Politics for Tomorrow | Open Gov Network Germany (OGP) contributed valuable perspectives.
The roundtable provided SEA-ACN members with an opportunity to exchange knowledge, insights, and experiences on PEPS definitions across ASEAN member countries. This collaboration promotes good governance and strengthens the foundation of anti-corruption efforts in Southeast Asia.
.
Representatives from HAND SE and WeVis emphasized the role of open data in enhancing collaborative efficiency. Utilizing shared PEPS databases, they noted, could streamline investigations and make it easier to trace connections among individuals involved in corruption, including government officials and business leaders.
.
Khairil Yusof from Sinar Project highlighted Malaysia’s use of collaborative spreadsheets to track corruption-related data, a method aimed at reducing data redundancy and keeping information current, thereby expediting investigations and enabling rapid identification of politically exposed persons in government and other critical sectors.
.
Moreover, The OPEN DATA group also stressed the need for supplementary databases, such as Beneficial Ownership information, which could allow investigators to access cross-border connections, benefiting not only anti-corruption but also other legal cases.
.
Participants voiced concerns about language barriers and the variation in PEPS criteria across countries, particularly regarding financial and trade regulations and Beneficial Ownership criteria. Another topic of concern was managing cases where individuals lose PEPS status post-office, with suggestions to retain historical data for future reference.
.
The discussion also covers data on State-Owned Enterprises (SOEs) and the need for a Cooling-Off Period to prevent former officials from using their previous positions for personal gain. This raised questions about the accessibility of data on individuals no longer holding office but still influential in the business sector.
.
Towards the end of the discussion, emphasis was placed on the PEPs database as a tool to enhance transparency in corruption and conflict-of-interest investigations, fostering accountability and transparency in Thailand, Malaysia, and other ASEAN countries. Questions were raised about data integration, whether through a centralized or decentralized model, with further clarification needed for regional and global data management.
.
This roundtable concluded with a strong emphasis on the importance of a PEPS database as a tool for transparency in corruption investigations, potentially benefiting ASEAN members by promoting accountability and good governance. However, participants questioned whether such databases should be centralized or separate for each country, calling for further discussions on efficient data management at regional and global levels.
.
Through this exchange of knowledge, tools, and anti-corruption strategies among experts, academics, and practitioners, SEA-ACN envisions a future strengthened by sustainable collaboration across civil society organizations in Southeast Asia.
.
Stay updated on future events and anti-corruption efforts by following KRAC on Facebook : KRAC Corruption
ดูทั้งหมด