Intovert Extrovert ความแตกต่างที่บริษัทต้องจัดการให้ลงตัว

19.09.2022

สรุปประเด็น

“เธอดูน้องคนนั้นสิ วัน ๆ เอาแต่ก้มหน้าทำงาน นี่น้องเค้าไม่คิดจะคุยกับใครเลยหรอ”

“พี่คนนั้นเอาแต่คุยเสียงดัง จนเราไม่มีสมาธิทำงานเลย”

เคยได้ยินประโยคแบบนี้ผ่านหูกันบ้างไหม ? ดูเผิน ๆ แล้ว นี่ก็เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในออฟฟิศที่มีคนหลากหลายมารวมกัน แต่จริง ๆ แล้วเรื่องนี้มีความสำคัญ เพราะมันสะท้อนความไม่ลงรอยกันในความแตกต่างของประเภทบุคลิกภาพ (Personality Types) ที่จะส่งผลเสียต่อบริษัท

“เธอดูน้องคนนั้นสิ วัน ๆ เอาแต่ก้มหน้าทำงาน นี่น้องเค้าไม่คิดจะคุยกับใครเลยหรอ”

“พี่คนนั้นเอาแต่คุยเสียงดัง จนเราไม่มีสมาธิทำงานเลย”

เคยได้ยินประโยคแบบนี้ผ่านหูกันบ้างไหม ? ดูเผิน ๆ แล้ว นี่ก็เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในออฟฟิศที่มีคนหลากหลายมารวมกัน แต่จริง ๆ แล้วเรื่องนี้มีความสำคัญ เพราะมันสะท้อนความไม่ลงรอยกันในความแตกต่างของประเภทบุคลิกภาพ (Personality Types) ที่จะส่งผลเสียต่อบริษัท

.

Personality Types หรือประเภทบุคลิกภาพ ถูกเอามาใช้กำหนดบุคลิกภาพเพื่อเข้าใจตัวเราและผู้อื่นมากขึ้น ปัจจุบันเรามีรูปแบบการแบ่งประเภทบุคลิกภาพมากมายเช่น MBTI, DISC, หรือ HEXACO แต่ในที่นี้เราขอพูดถึงรูปแบบ Personality Types ที่กำลังถูกพูดถึงมากในช่วงนี้อย่าง Introvert และ Extrovert

.

Introvert คือประเภทของกลุ่มคนที่ใช้สมาธิและความเงียบเป็นพลังในการทำงานแต่ละวัน ส่วน Extrovert คือประเภทของกลุ่มที่จะใช้การพูดคุยการเข้าสังคมเป็นพลังในการทำงานแต่ละวัน จะเห็นได้ว่า Introvert และ Extrovert มีรูปแบบการทำงานที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่การอยู่ร่วมกันของทั้งสองจะเกิดปัญหาตามมา เช่น Extrovert อาจมองว่า Introvert เป็นคนต่อต้านสังคมหรือเปล่านะ หรือเป็นคนถือตัวถึงไม่ยอมพูดคุยกัน กลับกันในมุมมองของ Introvert อาจมองว่า Extrovert ชวนคุยไม่หยุดเลย ไม่มีสมาธิทำงานกันพอดี ความไม่เข้าใจกันของทั้งสองก่อให้ปัญหาตามมา เช่น บรรยากาศสังคมในที่ทำงานย่ำแย่จนส่งผลต่อสภาพจิตใจของพนักงาน ทั้งยังทำให้คนในบริษัทขาดประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันอีกด้วย งานวิจัย “Personality styles: Why they matter in the workplace” (2020) จาก Melissa Kempf Taylor ก็ได้มีการกล่าวว่า การลงทุนกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางบุคลิกภาพของ Introvert และ Extrovert ในองค์กรจะช่วยพนักงานทั้งสองประเภทสามารถทำงานให้กับบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ

.

แล้วจะแก้ปัญหาความขัดแย้งทางบุคลิกภาพนี้อย่างไร ?

.

สิ่งสำคัญอันดับแรกคือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับบริหารหรือ HR ควรคำนึงถึงหลักความรับผิดชอบ (Responsibility) หนึ่งในหลักการ การกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance) ความรับผิดชอบในที่นี้คือความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ต้องดูแลพนักงาน ไม่มองว่าเป็นปัญหาเล็กและปล่อยให้พนักงานแก้กันเอง แต่มองในมุมของพนักงานว่าเขามีความสุขหรือไม่ จะทำอย่างไรให้เขาสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ถูกรบกวน

.

เมื่อเราเข้าใจความแตกต่างของคนแต่ละประเภทแล้ว บริษัทต้องมีการจัดการเชิงนโยบายที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดการแก้ไขจริง เราจึงขอแนะนำแนวทาง 5 ข้อ จาก Alison Green นักเขียนและผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารจัดการจากเว็บไซต์ Askmanager.org

.

1. สร้างความเข้าใจในวิธีการทำงานที่แตกต่างของแต่ละคน : ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือ HR ต้องสร้างนโยบายให้ทั้งกลุ่มที่เป็น Introvert และ Extrovert ได้เข้าใจกันและกัน กลุ่ม Introvert ได้เข้าใจว่าการที่ Extrovert พยายามพูดคุยอยู่เสมอ ไม่ใช่หาเรื่องอู้งานหรือคุยเรื่อยเปื่อย แต่มันคือการสร้างพลังงานให้เขาสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ Extrovert ก็จะเข้าใจว่า การที่ Introvert เลือกที่จะเงียบใส่เวลาที่เขาชวนคุยไม่ได้หมายความว่าเขาถือตัว หรือเย็นชาใส่ แต่นั่นคือวิธีการทำงานของ Introvert ที่ต้องการโฟกัสและใช้สมาธิ

.

2. จัดโซนการทำงานให้เหมาะสม : ถ้าออฟฟิศของคุณมีพื้นที่เพียงพอ ควรมีการจัดแบ่งโซนที่สามารถพูดคุยใช้เสียงได้และโซนที่ต้องหลีกเลี่ยงการใช้เสียง จะทำให้พนักงานสามารถเลือกพื้นที่ที่เหมาะกับรูปแบบการทำงานของตัวเอง คนที่เป็น Introvert ก็สามารถเลือกมุมทำงานเงียบ ๆ ได้มี ขณะที่คนที่เป็น Extrovert เองก็ไม่ต้องรู้สึกผิดที่ต้องพูดคุยกัน

.

3. เปลี่ยนสถานที่ทำงานในบางเวลา : แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกบริษัทที่จะมีพื้นที่มากพอ หรือบริษัทก็อาจจะยังไม่มีห้องประชุมสำรอง การใช้นโยบายให้สามารถออกไปทำงานนอกสถานที่ได้ เช่น คนเป็น Introvert ที่อยากจะโฟกัสกับงานมาก ๆ อาจจะอยากทำงานแบบ WFH หรือทำงานในร้านกาแฟมากกว่าการอยู่ในออฟฟิศที่เสียงดัง ในขณะที่คนที่เป็น Extrovert ในบางเวลาก็อยากประชุมอย่างเฮฮาในร้านอาหารข้างนอก

.

4.จัด "ช่วงเวลาที่ต้องเงียบ” : ในแต่ละวันเราอาจมีนโยบายที่ต้องแบ่งเวลาเป็น “ช่วงเวลาที่ต้องเงียบ” เพื่อที่ใครก็ตามที่ต้องการสมาธิในการทำงานสามารถใช้เวลาเหล่านั้นในการโฟกัสกับงานได้เต็มที่

.

5. ถ้าจะคุยกันยาวเปิดห้องประชุมไปเลย : เราสามารถสร้างประโยค “ไปประชุมกัน !!” ให้เป็นประโยคติดหูของคนในบริษัทเพื่อให้รู้ว่า เมื่อไหร่ที่การพูดคุยกันเริ่มใช้เวลานานและมีทีท่าว่าจะต้องคุยกันยาวแน่ ๆ ให้รีบไปเปิดใช้ห้องประชุมเลยดีกว่า เพื่อที่จะไม่ต้องรบกวนคนในออฟฟิศที่กำลังใช้สมาธิทำงาน และสามารถพูดคุยออกรสกันได้อย่างเต็มที่

.

แน่นอนว่าทั้ง 5 ข้อไม่ให้พรวิเศษที่สามารถนำไปแก้ปัญหาได้เลย แต่เป็นเพียงแนวทางที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมของบริษัท สิ่งสำคัญที่สุดคือการคำนึงถึงหลักความรับผิดชอบ (Responsibility) ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องเข้าใจความรู้สึกของพนักงาน รับผิดชอบต่อความรู้สึกของพวกเขา ในการบริหารอาจไม่จำเป็นต้องยึดติดกับการเป็น Introvert หรือ Extrovert เสมอไป เพราะจริง ๆ แล้วบุคลิกของคนไม่ได้จำกัดไว้เพียงแค่สองประเภท แต่ให้มองว่าพวกเขาต้องการอะไร และเราจะสามารถช่วยเหลือเขาได้อย่างไรให้สามารถทำงานออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

.

---

อ้างอิง :

- 3 ประเภทของบุคลิกภาพ Extrovert, Ambivert หรือ Introvert คุณเป็นแบบใหนเช็กได้ที่นี่

https://shorturl.asia/kA6LZ

- เข้าใจวิธีการทำงานที่แตกต่างระหว่าง introvert และ extrovert

https://shorturl.asia/vWESr

- Study Examines Why Extroversion and Introversion Matter in the Workplace - Pollack Peacebuilding Systems

https://shorturl.asia/vWESr

- can introverts and extroverts work together happily?

https://shorturl.asia/EWBjH

SHARE:

TAG ที่เกี่ยวข้อง:

Governance

Author

Surawat dewa

Content Writer ผู้ชอบที่จะเขียนประเด็นสังคมและสนใจรับข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ อยู่เสมอ โดยหวังว่าสักวันจะหา “วัน Copy” ที่ดีที่สุดให้เจอ และจะกลายเป็นราชาแห่งการเขียนให้ได้เลย!!