เข้าใจ HR Governance ฟันเฟืองสำคัญที่ HR ยุคใหม่ต้องรู้

15.11.2022

สรุปประเด็น

ถ้าพูดคำว่า HR Governance เชื่อว่าผู้อ่านบางท่านคงจะคิดในใจว่ามันคืออะไรนะ เพราะคำ ๆ นี้ไม่ได้เป็นศัพท์ที่รู้จักกันในวงกว้างเท่าไร แต่ถ้าเป็นคำว่า Governance โดด ๆ หรือที่แปลว่า ธรรมาภิบาล ใครที่เคยอ่านคอลัมน์ Love Monday 101 ของเราก็อาจพอคุ้นหูอยู่บ้าง เพราะเราเคยทำเรื่องเกี่ยวกับธรรมาภิบาลมาแล้วหลายตอน เช่น 3 วิธีสร้างการมีส่วนร่วม, How to ทำเพื่อสังคมด้วย Green HR จะให้เราอธิบายให้สั้น ๆ HR Governance คือ HR (Human Resources) ที่บริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยยึดหลักความโปร่งใส คุณธรรม ความรับผิดชอบ กฎหมาย มีส่วนร่วมและความคุ้มค่า

ถ้าพูดคำว่า HR Governance เชื่อว่าผู้อ่านบางท่านคงจะคิดในใจว่ามันคืออะไรนะ เพราะคำ ๆ นี้ไม่ได้เป็นศัพท์ที่รู้จักกันในวงกว้างเท่าไร แต่ถ้าเป็นคำว่า Governance โดด ๆ หรือที่แปลว่า ธรรมาภิบาล ใครที่เคยอ่านคอลัมน์ Love Monday 101 ของเราก็อาจพอคุ้นหูอยู่บ้าง เพราะเราเคยทำเรื่องเกี่ยวกับธรรมาภิบาลมาแล้วหลายตอน เช่น 3 วิธีสร้างการมีส่วนร่วม, How to ทำเพื่อสังคมด้วย Green HR จะให้เราอธิบายให้สั้น ๆ HR Governance คือ HR (Human Resources) ที่บริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยยึดหลักความโปร่งใส คุณธรรม ความรับผิดชอบ กฎหมาย มีส่วนร่วมและความคุ้มค่า

.

Deloitte หนึ่งใน BIG4 หรือหนึ่งในสี่บริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีรายใหญ่ระดับโลกเคยเขียนไว้ในบทความ Governance and Decision Rights HR Organization ว่า ในช่วงเวลากว่ายี่สิบปีที่ผ่านมาเราเห็นว่าหลายบริษัทที่พยายามเพิ่มประสิทธิภาพของฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือปฏิรูปโครงสร้างเพื่อลดต้นทุนของบริษัท แต่ก็ต้องล้มเหลวเพราะขาดธรรมาภิบาลที่เป็นรากฐานของโครงสร้างสำคัญ ในขณะที่องค์กรที่มีธรรมาภิบาลเป็นรากฐานและโครงสร้างจะมีโอกาสสำเร็จมากกว่า การมี HR Governance ในองค์กรจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยไม่สิ้นเปลืองเพราะองค์กรมีความรับผิดชอบต่องานด้วยการบริหารอย่างคุ้มค่า ลดความขัดแย้งทั้งคนภายในกับคนภายใน และคนภายในกับคนภายนอก เช่น ลูกค้า การสื่อสารจะดียิ่งขึ้น เพราะธรรมาภิบาลสร้างการมีส่วนร่วมกับทุก ๆ ฝ่ายให้ความสำคัญกับทุก ๆ คนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ด้วยหลักการมีส่วนร่วม อีกทั้งยังมีกรอบที่ชัดเจนเพื่อให้บริษัทวิ่งตรงไปที่เป้าหมาย โอกาสออกนอกเส้นทางน้อยเพราะธรรมาภิบาล ยึดมั่นด้านกฎหมายและคุณธรรม นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไม HR Governance ถึงเป็นเรื่องสำคัญ

.

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า HR Governance จะถูกพูดถึงในวงการธุรกิจมาหลายปีแล้ว แต่ก็ยังไม่ถูกนิยามความความหมายไว้ชัดเจน จนกระทั่งในปี 2019 Boris Kaehler ศาสตราจารย์ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ จาก Merseburg University of Applied Sciences และ Jens Grundei ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการองค์กรและธรรมาภิบาล ได้ร่วมกันเขียนหนังสือที่ชื่อว่า HR Governance A Theoretical Introduction โดยศาสตราจารย์ทั้งสองให้นิยามเอาไว้ว่า HR Governance คือ กรอบการกำหนดพฤติกรรมสำหรับการจัดการทรัพยากรบุคคลที่มาจากองค์ประกอบภายใน เช่น วิสัยทัศน์ และพันธกิจขององค์กร และองค์ประกอบภายนอก เช่น กฎหมายแรงงาน กฎหมายธุรกิจ ช่วยในการควบคุมจัดการภายในองค์กรรวมถึงฝ่าย HR เอง ซึ่งกรอบการกำหนดพฤติกรรมดังกล่าวมาจากการมีอิทธิพลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายกลุ่มในการกำหนดบรรทัดฐานที่เป็นทางการขององค์กรร่วมกัน HR Governance ยังเปรียบเสมือนฟันเฟืองตัวหนึ่ง ที่คอยกำกับดูแลในส่วนทรัพยากรมนุษย์ มีธรรมาภิบาลเป็นกรอบในการทำงานโดยขอบเขตกว้างไปถึงทั้งบุคลากรภายในภายนอก หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ไม่เว้นแม้แต่ตำแหน่ง HR เองด้วยกันเองนอกจากนี้ HR Governance ไม่ใช่การสร้างขึ้นมาใช้งานในระยะสั้นแต่เป็นการสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งรากฐานและโครงสร้างขององค์กร อย่างไรก็ดี HR Governance ยังต้องทำงานดูแลจัดการทรัพยากรมนุษย์ เหมือน HR ทั่วไป แต่สิ่งที่ทำให้ HR Governance แตกต่างคือการทำงานที่ยึดมั่นในหลักความโปร่งใส คุณธรรม ความรับผิดชอบ กฎหมาย มีส่วนร่วมและความคุ้มค่า

.

เมื่อรู้ว่า HR Governance คืออะไร มีบทบาทอย่างไรแล้ว ขั้นต่อไปคือจะนำไปใช้อย่างไร ? หนังสือ HR Governance A Theoretical Introduction กำหนดกรอบหรือ HR Model สำหรับใครก็ตามที่อยากจะสร้าง HR Governance ให้กับองค์กร เพื่อจะได้เห็นภาพชัดเจนว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เช่น การตั้งเป้าหมายของการมี HR Governance และการกำหนดบทบาทหน้าที่ที่ต้องร่วมแต่ละทีมต่าง ๆ ให้ชัดเจน เป็นต้น ซึ่งแนวทางข้ออื่น ๆ หากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถตามอ่านต่อได้ในหนังสือ HR Governance A Theoretical Introduction

.

ยิ่งตอนนี้กระแส HR Governance เป็นกระแสที่กำลังมา หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากให้ภาพลักษณ์บริษัทก้าวหน้า มีประสิทธิภาพ สร้างความโปร่งใสในองค์กร เป็นที่น่าเชื่อถือทั้งกับผู้บริโภคคู่ค้า HR Governance นี่แหละ เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาโดยด่วน !!

---

อ้างอิง

- HR Governance as a Part of the Corporate Governance Concept

https://www.researchgate.net/.../326210132_HR_Governance...

- WHY HR GOVERNANCE MATTERS

https://www.workinfo.org/.../252-why-hr-governance-matters

- 6 Levels of HR Governance

https://www.hrinasia.com/.../levels-of-human-resource.../

SHARE:

TAG ที่เกี่ยวข้อง:

Governance

Author

Surawat dewa

Content Writer ผู้ชอบที่จะเขียนประเด็นสังคมและสนใจรับข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ อยู่เสมอ โดยหวังว่าสักวันจะหา “วัน Copy” ที่ดีที่สุดให้เจอ และจะกลายเป็นราชาแห่งการเขียนให้ได้เลย!!