โครงการศึกษาและพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการวัด และต่อยอดโครงการ เพื่อเพิ่มผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคม สำหรับแพลตฟอร์มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างผลกระทบ (Impactful Research and Innovation Platform)

Summary

ออกแบบแนวทางการประเมินผลตอบแทนทางสังคมและเศรษฐกิจการลงทุน (SROI) ของโครงการแพลตฟอร์มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างผลกระทบของจุฬาฯ เพื่อส่งเสริมการติดตาม วัดและประเมินผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมของโครงการที่เกิดขึ้นจริงจากการลงทุน สร้างผลกระทบให้เกิดความน่าเชื่อถือกับสังคม และส่งเสริมความสามารถของนักวิจัยในโครงการในการประเมินผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจโครงการดำเนินงานต่อไปด้วย ซึ่งภาพรวมของผลการประเมินผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมของโครงการที่ได้รับทุนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า มีผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนที่คุ้มค่ากับการลงทุน เป็นไปตามเป้าหมาย สามารส่งมอบผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมได้จริงเมื่อสิ้นสุดแผนการดำเนินงาน

Insight

บทเรียนที่ได้จากการประเมินผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมของโครงการที่ได้รับทุน ควรลดความยุ่งยากของขั้นตอนการประเมิน และควรทำตั้งแต่เริ่มโครงการ เนื่องจากจะช่วยในการกำหนดเป้าหมายให้กับนักวิจัย และเตรียมกระบวนการประเมินให้กับงานวิจัยให้ได้ผลประเมินที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด เพราะมีการเก็บข้อมูลค่าก่อนการประเมินที่ทันเวลา และกำหนดตัวชี้วัดของการทดลองและการควบคุม Treatment vs Control ได้อย่างชัดเจน ดังนั้น การสร้างแบบฟอร์ม (Template) ของการประเมิน ตั้งแต่ตอนขอรับทุนโครงการเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเข้าใจให้กับผู้รับทุน และยังช่วยกำหนดเป้าหมายให้ผู้รับทุนทราบว่าต้องตอบคำถามด้วยตัวชี้วัดใดบ้าง การดำเนินการนี้นอกจากจะช่วยให้ผลประเมินมีค่าที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุดแล้ว ยังช่วยให้การประเมินเกิดความเป็นธรรมกับผู้รับทุนเมื่อถูกประเมินด้วย

โครงการแพลตฟอร์มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างผลกระทบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นโครงการที่สนับสนุนโดยสำนักบริหารวิจัย (สบจ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ และบริษัท เเฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด เป็นหนึ่งในคณะผู้วิจัย


โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาข้อเสนอแนะต่อโครงการขอรับทุนเกี่ยวกับแนวทางการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน อันจะนำไปสู่การสื่อสารผลกระทบของโครงการต่อสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อทดลองติดตาม วัดและประเมินผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจจากการลงทุนของโครงการขอรับทุน และการพัฒนาทักษะและการติดตามของคณะทำงานโครงการขอรับทุน และเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนได้เสียในกระบวนการดำเนินโครงการในการดำเนินการประเมินผลต่อแทนทางสังคมและเศรษฐกิจจากลงทุน


การดำเนินงานของโครงการขอรับทุน พบว่า ทุกโครงการได้สร้างผลกระทบทางสังคมจากการลงทุนคุ้มค่ากับการลงทุน โดยสามารถสร้างผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มได้ตาวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ที่คาดหวัง นอกจากนี้ โครงการขอรับทุนมีศักยภาพในการต่อยอดผลการดำเนินงานของโครงการให้เกิดผลกระทบในมิติต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน ในขณะเดียวกัน การพัฒนาทักษะของคณะทำงานโครงการขอรับทุนจะช่วยสนับสนุนการขยายผลและต่อยอดการสร้างผลกระทบของโครงการในวงกว้างได้อย่างตรงจุด และส่งเสริมการสื่อสารผลกระทบของโครงการต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรมและโปร่งใส


นอกจากนี้ ยังพบว่า โครงการที่ได้รับทุนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีจุดเด่น คือเป็นโครงการที่มีการบูรณาการองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วภายใต้การทำวิจัยของคณะ/ภาควิชา มาต่อยอดเป็นชิ้นงานใหม่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) อาทิ นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ เครื่องมือได้อย่างเป็นรูปธรรม (Prototype) ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ ด้านการแพทย์ ด้านเทคโนโลยี ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ด้านสุขภาพ ด้านสัตวศาสตร์ และด้านการศึกษา ซึ่งล้วนตอบโจทย์นโยบายสำคัญของประเทศ โดยผลการวิจัยที่เกิดขึ้นสามารถนำไปขยายผลในวงกว้างได้ และสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมได้จริง 

Author

Supatja Angsuwan

นักวิจัยสายสตรอง สนุกกับการเป็นแม่ และจะไม่หยุดทำงาน จนกว่าเด็กทุกคนจะได้เติบโตขึ้นในสังคมที่ไม่ทนต่อการคอร์รัปชัน