โครงการจัดทำฐานข้อมูลแกนนำภาคีเครือข่ายคุณธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน

Summary

รวบรวมข้อมูลภาคีเครือข่ายคุณธรรมในอาเซียน เพื่อนำเสนอข้อมูลขององค์กรแกนนำด้านคุณธรรมที่ทำหน้าที่ส่งเสริมคุณธรรมในแต่ละประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม ประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐาน ประเด็นคุณธรรมที่ส่งเสริม และรูปแบบของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุณธรรม เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้กับหน่วยงานรัฐ องค์กรภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่ต้องการสร้างความร่วมมือด้านการส่งเสริมคุณธรรมระหว่างประเทศสมาชิกในอาเซียน ได้ใช้ฐานข้อมูลนี้ให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างเครือข่ายคุณธรรมและขยายความร่วมมือต่อไป

Insight

ฐานข้อมูลแกนนำภาคีเครือข่ายคุณธรรมระดับอาเซียน ในภาพรวมมุ่งส่งเสริมคุณธรรมหลัก 5 ข้อ ได้แก่ 1.) การมีส่วนร่วมและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล 2.) การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง 3.) การพัฒนาอย่างยั่งยืน 4.) การมีภูมิคุ้มกันและความสามารถในการฟื้นฟู และ 5.) การมีพลวัตและความปรองดองท่ามกลางความหลากหลาย

บริษัท เเฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม ได้รับมอบหมายจากศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ให้ดำเนินโครงการจัดทำฐานข้อมูลแกนนำภาคีเครือข่ายคุณธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอข้อมูลขององค์กรแกนนําด้านคุณธรรมที่ทําหน้าที่ส่งเสริมคุณธรรมในแต่ละประเทศ ข้อมูลพื้นฐานวิสัยทัศน์และประเด็นคุณธรรมที่ส่งเสริมและรูปแบบของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุณธรรม สำหรับเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้กับหน่วยงานรัฐ องค์กรภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่ต้องการสร้างความร่วมมือด้านการส่งเสริมคุณธรรมระหว่างประเทศสมาชิกในอาเซียน


จากการศึกษารูปแบบกิจกรรมและการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน สามารถสรุปจุดเด่นร่วมกันได้ ดังนี้


1.)  ย่อยให้ง่าย จะเห็นได้ว่ามีการนำองค์ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่พลเมือง หรือคุณธรรมจริยธรรม มาย่อยสรุป ปรับเปลี่ยนการนำเสนอให้มีความน่าสนใจและเข้าใจได้ง่าย ทั้งนี้ สิ่งสำคัญ คือการเลือกใช้ “สื่อ” ในการนำเสนอ เห็นได้จากตัวอย่างของประเทศอินโดนีเซียที่นำเสนอเนื้อหาผ่านนิทานสั้นที่มีความน่าสนใจ และผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างง่ายๆ ผ่านความเพลิดเพลินจากการอ่านนิทานเหล่านี้


2.)  ทำได้จริง โดยหลาย ๆ ประเทศได้นำองค์ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่พลเมือง หรือคุณธรรมจริยธรรม มาเป็นสิ่งที่สามารถลงมือปฏิบัติได้จริง จากตัวอย่างของประเทศฟิลิปปินส์ หรือสิงคโปร์ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการเข้าร่วมโครงการเพื่อสังคมหรือจิตอาสาต่างๆ ซึ่งผู้เรียนก็จะได้เรียนรู้และตกตะกอนองค์ความรู้ต่างๆ ผ่านประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการเหล่านี้


3.)   รัฐสนับสนุน ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมาก เห็นได้จากในหลายๆ ประเทศข้างต้น ทางรัฐบาลต่างให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนในการเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาโครงการต่างๆ ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลให้โครงการสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

SHARE:

TAG ที่เกี่ยวข้อง:

MoralAseanGovernanceAnti-Corruption

Author

Supatja Angsuwan

นักวิจัยสายสตรอง สนุกกับการเป็นแม่ และจะไม่หยุดทำงาน จนกว่าเด็กทุกคนจะได้เติบโตขึ้นในสังคมที่ไม่ทนต่อการคอร์รัปชัน