ON GOING

โครงการแนวทางการสร้างความยุติธรรมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People-Centered Justice) ระยะที่ 2

Summary

เพื่อศึกษาจุดวิกฤต (Critical Point) และเส้นทางชีวิตของการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม (Justice Journey) ของกลุ่มประชากรกลุ่มเปราะบาง และจัดทำข้อเสนอต่อการออกแบบกลไกการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของกลุ่มประชากรกลุ่มเปราะบางที่เฉพาะเจาะจงให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น อันจะนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง ในการสร้างความยุติธรรมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People-Centric Justice)

Insight

ข้อเสนอการศึกษาในระยะที่ 2 จะมุ่งเน้นไปที่การศึกษาเส้นทางการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของประชาชนที่มีความเปราะบางในกลุ่มคดีที่ดิน (เน้นที่กลุ่มคนยากจน) คดีความรุนแรง (เน้นความรุนแรงทางเพศ) และคดีฉ้อโกง/ฉ้อฉล (เน้นที่คดีฉ้อโกงออนไลน์ในกลุ่มเปราะบาง) เพื่อพัฒนาข้อเสนอต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่มีพื้นฐานจากปัญหาและความต้องการของประชาชนเป็นสำคัญ และส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมที่สนับสนุนให้เกิดการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาค และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง อันเป็นไปตามแนวทางของการสร้างความยุติธรรมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People-Centered Justice)

โครงการวิจัยแนวทางการสร้างความยุติธรรมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People - Centric Justice) ระยะที่ 2 เป็นโครงการต่อเนื่องจากระยะที่ 1 ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจาก สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) โดยมีศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ และบริษัท เเฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด เป็นหนึ่งในคณะผู้วิจัย


โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องจากระยะที่ 1 ที่ดำเนินการศึกษาความต้องการและต้นทุนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนทั่วไปในสังคมไทย โดยในระยะที่ 2 มุ่งศึกษาเรื่อง “Justice (&Citizenship) Literacy and Practice” เน้นไปที่การศึกษาเส้นทางการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของประชาชนที่มีความเปราะบางในกลุ่มคดีที่ดิน (เน้นที่กลุ่มคนยากจน) คดีความรุนแรง (เน้นความรุนแรงทางเพศ) และคดีฉ้อโกง/ฉ้อฉล (เน้นที่คดีฉ้อโกงออนไลน์ในกลุ่มเปราะบาง)


โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์และการเก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) และ/หรือสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ในแต่ละประเภทคดี ได้แก่

(1) กลุ่มนักวิชาการที่ทำงานศึกษาเกี่ยวกับสภาพปัญหาและการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชน

(2) กลุ่มองค์กรภาคเอกชนและภาคประชาสังคมที่ทำงานในด้านการบริการ การให้ความช่วยเหลือ และขับเคลื่อนประเด็นเรื่องการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชน

(3) กลุ่มหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่ในฐานะเป็นองค์กรที่ปฏิบัติงานเพื่ออำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนตามกระบวนการยุติธรรม เพื่อเข้าใจถึงเส้นทางการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของกลุ่มประชากรในแต่ละประเภทคดีที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น 


หลังจากนั้น จึงนำมาจัดทำข้อเสนอต่อแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมของกระบวนการยุติธรรมของกลุ่มประชากรที่มีความเปราะบางที่เฉพาะเจาะจงให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมมากขึ้น

Author

Supatja Angsuwan

นักวิจัยสายสตรอง สนุกกับการเป็นแม่ และจะไม่หยุดทำงาน จนกว่าเด็กทุกคนจะได้เติบโตขึ้นในสังคมที่ไม่ทนต่อการคอร์รัปชัน