โครงการพัฒนาและสนับสนุนวิชาการแผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ

Summary

โครงการศึกษานี้เป็นโครงการเพื่อพัฒนาและสนับสนุนวิชาการแผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ ปี 2565-2570 ให้แก่สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) สสส. และเครือข่ายแผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ ให้เกิดการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับเป้าหมายของ สสส. อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถนำไปใช้งานได้จริง และเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อสังคมในการลดความไม่เป็นธรรมทางสุขภาวะของประชากรกลุ่มเฉพาะทั้งระยะสั้นและระยะยาว ด้วยการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาแผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ และสนับสนุนการใช้ข้อมูลแนวคิดการประเมินสนับสนุนการออกแบบการทำงาน และพัฒนางานวิชาการ ตอบโจทย์ของภาคีสำนัก 9 เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาแผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะอย่างมีประสิทธิภาพ

Insight

งานวิจัยได้ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการ ภาคี และประชากรกลุ่มเฉพาะที่มีประสบการณ์การทำงานกับสำนัก 9 ในทุกกลุ่ม เพื่อจัดทำแนวทางการรับมือกับวิกฤติการณ์ทางสุขภาพในอนาคตอย่างเป็นกลไกรูปธรรม พบว่า ประเด็นปัญหาและความท้าทายร่วมกันของทุกกลุ่ม คือรัฐมองไม่ให้เห็นกลุ่มคนเปราะบาง ส่งผลให้ขาดกำลังคน เงินทุนและทรัพยากรในการขับเคลื่อนหรือให้ความช่วยเหลือ (Engagement) ทำให้ประชากรกลุ่มเฉพาะจึงกลายเป็นกลุ่มที่ยิ่งเปราะบาง ยิ่งเข้าไม่ถึง ดังนั้น แนวทางการฟื้นฟู หรือวางแผนเพื่อรับมือกับวิกฤติการณ์ในอนาคต จึงควรให้ความสำคัญกับการออกแบบนโยบายที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังที่ตรงกลุ่มเป้าหมายบนพื้นฐานของการใช้ข้อมูลจากการถอดบทเรียนการปฏิบัติงาน และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ เพื่อให้มีการวางแผนการเก็บข้อมูลที่นับรวมประชากรกลุ่มเฉพาะในสังคม และมีมาตรการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชากรกลุ่มเฉพาะที่เท่าเทียม (Inclusive Engagement)

โครงการวิจัยพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานและสนับสนุนวิชาการ แผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ และบริษัท เเฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด เป็นหนึ่งในคณะผู้วิจัย


มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และสังเคราะห์ภาพรวม รวมทั้งคาดการณ์แนวโน้มในอนาคตของสถานการณ์ด้านความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมทางสุขภาวะของประชากรกลุ่มเฉพาะ นำเสนอข้อเสนอแนะต่อการจัดทำแผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ ปี พ.ศ. 2565 – 2567 และพัฒนางานวิชาการที่สนับสนุนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับเป้าหมายของ สสส. รวมทั้งสามารถนำไปใช้ได้จริง และเกิดผลลัพธ์ต่อสังคมในการลดความไม่เป็นธรรมทางสุขภาวะของประชากรกลุ่มเฉพาะอย่างยั่งยืน


ผลการศึกษาและข้อเสนอต่อการพัฒนางานวิชาการที่สามารถสนับสนุนการขับเคลื่อนการสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ ประกอบด้วยประเด็นสำคัญ ทั้งหมด 3 ประเด็น ซึ่งได้ออกเเบบเป็นเเนวทางในการดำเนินงานผ่านโครงการย่อย เพื่อให้สสส. และเครือข่ายภาคีกลุ่มประชารกเฉพาะได้นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ดังนี้


1.) แนวทางการสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Fundamental) ของประชากรกลุ่มเฉพาะ เพื่อสนับสนุนงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพของประชากรกลุ่มเฉพาะบนพื้นฐานของข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างเป็นรูปธรรม โดยสามารถนำแบบสอบถามสำหรับการเก็บข้อมูลประชากรกลุ่มเฉพาะ (Common Questions) และชุดข้อมูล (Digital Dataset) เบื้องต้น เพื่อนำเสนอรูปธรรมของความเหลื่อมล้ำทางด้านสุขภาวะของประชากรกลุ่มเฉพาะจากงานที่ภาคีดำเนินการได้


2.) แนวทางการออกแบบนโยบายเพื่อลดความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพอย่างมีส่วนร่วม (Inclusive Policy) ซึ่งสามารถวัดค่าได้และเป็นระบบในหลายกลุ่มประชากรที่เชื่อมระหว่างโครงสร้างใหญ่ที่มาจากพื้นที่และโมเดลต้นแบบกับปัญหาของกลุ่มประชากรจากฐานข้อมูลที่ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ โดยนำเสนอให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ เพื่อให้มีการวางแผนการเก็บข้อมูลที่นับรวมประชากรกลุ่มเฉพาะในสังคม และมีมาตรการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชากรกลุ่มเฉพาะที่เท่าเทียม (Inclusive Engagement)


3.) แนวทางการบริหารเครือข่ายความสัมพันธ์ของภาคีเครือข่ายประชากรกลุ่มเฉพาะของ สำนัก 9 เพื่อให้เห็นถึงภาคีเครือข่ายที่มีความสำคัญในช่วงเวลาต่าง ๆ รวมไปถึงการขยายตัวของภาคีเครือข่ายประชากรกลุ่มเฉพาะในเชิงพลวัต โดยมีข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการเครือข่ายในการทำงานช่วงถัดไปของสำนัก 9 ด้วยการ สร้างระบบฐานข้อมูลให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และพัฒนาระบบบริหารจัดการติดตามและประเมินผลโครงการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการของภาคีเครือข่ายของสำนัก 9 ในอนาคต

Author

Supatja Angsuwan

นักวิจัยสายสตรอง สนุกกับการเป็นแม่ และจะไม่หยุดทำงาน จนกว่าเด็กทุกคนจะได้เติบโตขึ้นในสังคมที่ไม่ทนต่อการคอร์รัปชัน