โครงการวิจัยกระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทย

Summary

ศึกษากระบวนการขอสัมปทานการเก็บรังนกถ้ำ และการตรวจสอบการแบ่งปันผลประโยชน์ รวมถึงประเมินความเหมาะสมในกระบวนการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกถ้ำจากกรณีการทุจริตที่ผ่านมา พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาและออกแบบนโยบายป้องกันการทุจริตจากการให้สัมปทานจากธุรกิจรังนกถ้ำ

Insight

กระบวนการขอสัมปทานการเก็บรังนกถ้ำ มีช่องโหว่ที่เปิดโอกาสให้เกิดการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีความสุ่มเสี่ยงต่อการทุจริตที่สามารถอธิบายผ่านกรอบทฤษฎีตัวการ-ตัวแทน (Principal-Agent) ได้อยู่ 3 จุด ได้แก่ 1.) คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ครอบคลุมกระบวนการสัมปทานตั้งแต่ต้นจนจบอย่างเบ็ดเสร็จ 2.) การขาดระบบการตรวจสอบที่เหมาะสมกับลักษณะโครงสร้างและสภาวการณ์ของอุตสาหกรรมรังนกถ้ำที่ยังขาดข้อมูลและความโปร่งใสของข้อมูล และ 3.) ผู้ดำเนินงานตามระเบียบและข้อกำหนดเป็นบุคคลที่อยู่ในคณะกรรมการร่วมกันทั้งสิ้น โดยไม่มีกระบวนการตรวจสอบจากบุคคลภายนอกอย่างเป็นทางการ ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นช่องโหว่ที่เปิดโอกาสสู่การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจที่อาจเกี่ยวข้องกับการทุจริตได้

โครงการวิจัยกระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทยได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยมีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ และบริษัท เเฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด เป็นหนึ่งในคณะผู้วิจัย เพื่อศึกษากระบวการขอสัมปทานการเก็บรังนกถ้ำและการตรวจสอบการแบ่งปันผลประโยชน์ รวมถึงประเมินความเหมาะสมในกระบวนการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกถ้ำจากกรณีการทุจริตที่ผ่านมา พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาและออกแบบนโยบายป้องกันการทุจริตจากการให้สัมปทานจากธุรกิจรังนกถ้ำ

 

ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการให้สัมปทานและการตรวจสอบการแบ่ง ปันผลประโยชน์จากธุรกิจรังนกถ้ำพบว่ามีช่องโหว่ที่เปิดโอกาสให้เกิดการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อการทุจริต

โดยมีจุดเสี่ยงด้วยกัน 3 จุดคือ

1.) คณะกรรมการารจัดเก็นอากรรังนกอีแอ่นที่เป็นผู้มีอำนาจดูแลกระบวนการนี้ตั้งแต่ต้นจนจบแบบเบ็ดเสร็จ

2.) ขาดระบบการตรวจสอบที่เหมาะสมและข้อมูลยังขาดความโปร่งใส

3.) ขาดกระบวนการตรวจสอบการมอบและรับเงินอากรจากบุคคลภายนอกคณะกรรมการอย่างเป็นทางการ

ซึ่งความเสี่ยงนี้เกิดจากปัญหาหลัก คือการขาดข้อมูลและขาดความโปร่งใสของข้อมูล การบังคับใช้กฎหมายและขาดระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ นำมาสู่แนวทางการพัฒนากระบวนการให้สัมปทานและการตรวจสอบการแบ่งปันผลประโยชน์ธุรกิจรังนกถ้ำ

 

โดยเสนอให้มีการปรับโครงสร้างคณะกรรมการพิจารณาจัดเก็บอากรรังนกให้มีการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสม เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลกันได้ และกำหนดกระบวนการตรวจสอบเฉพาะเจาะจงสำหรับการให้สัมปทานรังนกที่ชัดเจน รวมถึงมีการจัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเป็นพื้นฐานในการออกแบบปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ตามข้อเสนอแนะ

SHARE:

TAG ที่เกี่ยวข้อง:

Anti-CorruptionGood Governanceสัมปทาน

Author

Supatja Angsuwan

นักวิจัยสายสตรอง สนุกกับการเป็นแม่ และจะไม่หยุดทำงาน จนกว่าเด็กทุกคนจะได้เติบโตขึ้นในสังคมที่ไม่ทนต่อการคอร์รัปชัน